รังนกในประวัติศาสตร์ไทย - สมัยกรุงศรีอยุธยา P.2

Last updated: 1 ก.ค. 2563  |  1643 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รังนกในประวัติศาสตร์ไทย - สมัยกรุงศรีอยุธยา P.2

 กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย : มีบันทึกหลักฐานในช่วง พ.ศ. 1893 สมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช (เจ้านครอินทร์) จดหมายเหตุของจีนเรียก “เจียวหลกความอิน” เป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เคยเสด็จไปประเทศจีน โดยตรงกับรัชสมัยของจักรพรรดิหย่งเล่อ แห่งราชวงศ์หมิง มี "ขันทีเจิ้งเหอ" นำกองทัพเรือสำรวจทะเล 7 ครั้ง เป็นผู้ได้รู้จักกับรังนกอีแอ่นขณะที่ได้เดินทางผ่านคาบสมุทรมลายู มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ได้นำรังนกอีแอ่นกลับไปถวายจักรพรรดิ โดยการนำเรือสำรวจทะเลครั้งที่ 2 เมื่อปีพ.ศ. 1950 เจิ้งเหอได้แวะอยุธยาและได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนครินทราธิราชเป็นการส่วนตัว ซึ่งในช่วงเวลานั้นนครศรีธรรมราชได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา แต่ยังเป็นศูนย์กลางอำนาจและศูนย์กลางการค้าในคาบสมุทรภาคใต้ ซึ่งจีนเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับนครศรีธรรมราชด้วย

       หลักฐานอีกประการหนึ่งคือ เมื่อ พ.ศ.2229 ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงส่งราชทูตโกษาปานเดินทางไปประเทศฝรั่งเศส เพื่อถวายพระราชสาส์นแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่ง เดอ วี เซ ได้บันทึกไว้ว่า ในขณะนั้นสมเด็จพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระนามว่า มงเชียร์ กำลังประชวรอยู่ เมื่อราชทูตโกษาปานทราบข่าวจึงขอเข้าเฝ้าถวายรังนกอีแอ่นที่ตนนำมาด้วยให้กับสมเด็จพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เพื่อทดลองเสวยรักษาพระโรค

       จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฎทำให้ได้รู้ว่า รังนก มีบทบาทในประวัติศาสตร์ไทยมากขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ทั้งบันทึกจากชาวต่างชาติ เป็นเครื่องบรรณาการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ และเริ่มมีหลักฐานการติดต่อค้าขายสินค้ารังนกกับต่างประเทศมากขึ้น

 

ที่มา - Law-Theses : ปัญหาการกํากับดูแลการเก็บรังนกอีแอ่นจากสิ่งปลูกสร้างจากเอกชน. ภัทรทร วันวงษ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์.) 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้