ที่มาของสิ่งปลูกสร้างให้นกนางแอ่นเข้าไปทำรังอาศัย

Last updated: 9 ก.ค. 2563  |  2527 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ที่มาของสิ่งปลูกสร้างให้นกนางแอ่นเข้าไปทำรังอาศัย

          เกิดปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติขึ้นราวพ.ศ. 2494 ในขณะนั้นมีคนจีนใจบุญรายหนึ่งที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ปลูกตึกเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัว แต่เมื่อสร้างตึกเสร็จกลับมีนกนางแอ่นเข้ามาอยู่ในพื้นที่ชั้นบน ทำรังวางไข่ออกลูก เจ้าของบ้านจึงทนพักอาศัยอยู่แต่ชั้นล่าง นานวันนกนางแอ่นก็พาพวกพ้องเข้ามาอยู่อาศัยทำรังกันที่บ้านหลังนี้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว เจ้าของบ้านจึงสังเกตและศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้รังของนกนางแอ่น จนในที่สุดเจ้าของบ้านหลังนี้ก็ศึกษากฎเกณฑ์และวิธีการเก็บรังนกนางแอ่นที่ทำรังในบ้านได้เป็นอย่างดี จนสามารถเก็บรังนกออกขายได้

          การสร้างบ้านรังนกกลายเป็นธุรกิจที่สำคัญ สร้างรายได้แก่เจ้าของธุรกิจและเกือบทุกจังหวัดของภาคใต้ ทั้งในสถานที่ของเอกชนและในบริเวณที่ใกล้กับเกาะ แก่งหรือถ้ำ นอกจากนี้มีการออกแบบอาคารโดยนำหลักการทางวิศวกรรมมาใช้ เช่น ความสูงของอาคาร ความสูงของหอนก ช่องทางสำหรับบินเข้า-ออกของนก ช่องทางการรับแสงแดดของอาคาร ความกว้างของพื้นที่ภายในอาคาร การวางระบบระบายอากาศ แก๊ส ความร้อนและความมืดภายในอาคาร หรือการนำเทคนิคการตีไม้กระดานมาใช้ในการสร้างบ้านนก การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในอาคาร การใช้เครื่องขยายเสียง เป็นต้น

          ปัจจุบันมีอาคารสิ่งปลูกสร้างของเอกชนที่นกนางแอ่นเข้าอยู่อาศัยทำรังหรือ “บ้านรังนก” เกิดขึ้นมากมายในชุมชนที่มนุษย์อาศัยอยู่ พบมากในจังหวัดที่อยู่ชายฝั่งทะเล ได้แก่ ระยอง จันทบุรี ตราด สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา พัทลุง สงขลา ตรัง ปัตตานี นราธิวาส และสตูล

 

ที่มา - Law-Theses : ปัญหาการกํากับดูแลการเก็บรังนกอีแอ่นจากสิ่งปลูกสร้างจากเอกชน. ภัทรทร วันวงษ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์.) 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้